แชร์

สิ่งที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นเป็นผู้ส่งออกสินค้า

การเริ่มต้นเป็นผู้ส่งออกสินค้า

ปัจจุบันธุรกิจการส่งออกสินค้ามักเป็นที่นิยมในการขยายตลาด ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีในการมองหาตลาดใหม่ ๆ  เพื่อขยายกิจการ แต่ก็ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด จะต้องพิจารณาถึงข้อกำหนด และข้อจำกัดเยอะแยะมากมาย ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักข้อมูลเบื้องต้นสำหรับธุรกิจส่งออกกันก่อนดีกว่า

 

 ธุรกิจส่งออกคืออะไร ?

ธุรกิจส่งออก คือ การขายสินค้าหรือบริการในประเทศไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อเป็นการสร้างรายได้จากตลาดต่างประเทศ หรือเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในตลาดนั้นๆ โดยการส่งออกนั้นจะต้องผ่านหน่วยงานกรมศุลกากร และอยู่ในข้อกำหนดของการนำเข้าและส่งออกของประเทศนั้นๆ ด้วย

 

 ธุรกิจส่งออก ส่งได้ทางไหนบ้าง
ธุรกิจส่งออกสามารถส่งออกสินค้าและบริการได้ 3 ช่องทาง ดังนี้

ทางบก
สำหรับผู้ที่ต้องการทำธุรกิจส่งออกสินค้าทั่วไปผ่านทางบก จะต้องทำข้อมูลใบขนสินค้าขาออก (กศก. 101 1) ตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนดไว้ โดยก่อนการขนย้ายสินค้าที่จะส่งออกมายังด่านศุลกากรนั้น สามารถทำข้อมูลใบขนสินค้าขาออกในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แล้วส่งข้อมูลมายังระบบของกรมศุลกากรก่อนได้ เมื่อระบบได้ตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าขาออกแล้ว ก็จะแจ้งเลขที่ใบขนสินค้าขาออกเพื่อให้ผู้ส่งออกนำไปชำระค่าภาษีอากร จากนั้นจึงย้ายสินค้าไปยังด่านศุลกากรต่อไปได้

ทางเรือ
ผู้ที่ต้องการทำธุรกิจส่งออกสินค้าทางเรือ ผู้ส่งออกจะต้องทำข้อมูลใบขนสินค้าขาออก (กศก. 101 1) เช่นเดียวกับการส่งออกทางบก โดยหลังจากส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกเข้ามายังระบบของกรมศุลกากรแล้ว ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรจะตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น หากถูกต้องเรียบร้อยจะออกเลขที่ใบขนสินค้าเพื่อนำไปชำระภาษีอากร จากนั้นจึงได้ใบขนสินค้าสถานะพร้อมตรวจปล่อย และให้ผู้รับผิดชอบบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์ นำส่งที่ท่าเรือต่อไป

ทางอากาศ
การทำธุรกิจส่งออกผ่านทางอากาศในปัจจุบันสามารถดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ได้โดยไม่ต้องใช้เอกสาร (Paperless) เพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายทางการค้า และส่งเสริมการส่งออกสู่การแข่งขันในตลาดโลก โดยผู้ที่ต้องการส่งสินค้าทางอากาศนั้น สามารถลงทะเบียนกับศุลกากร ได้ที่ทำการกรมศุลกากรทั่วประเทศ ส่วนวิธีการส่งนั้น ผู้ส่งของออกต้องส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออก และส่งข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้าทางอากาศยาน ก่อนการขนย้ายของส่งออกผ่านจุดที่กำหนด checking post และให้ยื่นข้อมูลก่อนตารางเวลาที่อากาศยานจะออกไปนอกประเทศไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

 

 มีขั้นตอนและเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

1. จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทฯ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

2. จดทะเบียนผู้เสียภาษี กรมสรรพากร

3. จดทะเบียนผู้ส่งออก กรมศุลกากร

4. ละทะเบียนผู้ส่งออก กรมการค้าต่างประเทศ

5. เอกสารรับรองผลิตภัณฑ์จากภาครัฐ

6. สรุปเงื่อนไขการส่งมอบ ค่าใช้จ่ายการดำเนินการและการขนส่งกับผู้ซื้อ

7. จัดหาระวางเรือ, เครื่องบิน หรือรถบรรทุก (Freight Forwarder)

8. ดำเนินพิธีการศุลกากร ด้วยระบบ PAPERLESS

9. การส่งออกสินค้าโดยเรือ, เครื่องบิน หรือรถบรรทุก

10. ยื่นเอกสารขอ Certificate ต่าง ๆ

11. แจ้งวันสินค้าถึงประเทศปลายทาง

12. จัดส่งเอกสารให้ผู้ซื้อ เพื่อปล่อยสินค้าปลายทาง

 

 

Siam Biotech
โรงงานรับผลิต OEM&ODM ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร/อาหารเสริม ยาแผนไทย/ยาแผนโบราณ แบบ One Stop Service


 

ข้อมูลจาก: 

1. https://onestopservice.ditp.go.th/file/DB023_HS04051000.pdf

2. https://www.kasikornbank.com/th/kbiz/article/pages/export-business.aspx


บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy